วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แต่เดิมแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเป็นการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน การศึกษาควรให้ความสำคัญกับ การเรียนมากกว่า การสอน
แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา

  สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.       Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
2.       Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
3.       Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)
4.       Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
5.       Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
6.       Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
7.       Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
8.       Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
9.       Self Evaluation เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย

บทบาทของครูผู้สอน
บทบาทของครูผู้สอนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะไม่เป็นผู้ชี้นำหรือผู้ออกคำสั่งแต่จะเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้น ผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ติดตามตรวจสอบ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น แหล่งข้อมูล เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เว็บไซด์ อีเมล์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเที่ยง เข้าถึงได้จากhttp://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm)
ครูสมัยใหม่
ครูสมัยเก่า
1.  สอนนักเรียนโดยวิธีบูรณาการเนื้อหาวิชา
1.  สอนแยกเนื้อหาวิชา
2.  แสดงบทบาทในฐานะผู้แนะนำ (Guide) ประสบการณ์ทางการศึกษา
2.  มีบทบาทในฐานะตัวแทนของเนื้อหาวิชา(Knowledge)
3.  กระตือรือร้นในบทบาท ความรู้สึกของนักเรียน
3.  ละเลยเฉยเมยต่อบทบาทนักเรียน
4.  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนของหลักสูตร
4.  นักเรียนไม่มีส่วนร่วมแม้แต่จะพูดเกี่ยวกับหลักสูตร
5.  ใช้เทคนิคการค้นพบด้วยตนเองของนักเรียนเป็นกิจกรรมหลัก
5.  ใช้เทคนิคการเรียนโดยใช้การจำเป็นหลัก
6.  เสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ โดยใช้แรงจูงใจภายใน
6.  มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก เช่น เกรด แรงจูงใจภายนอก
7.  ไม่เคร่งครัดกับมาตราฐานทางวิชาการจนเกินไป
7.  เคร่งครัดกับมาตราฐานทางวิชาการมาก
8.  มีการทดสอบเล็กน้อย
8.  มีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะๆ
9.  มุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมใจ
9.  มุ่งเน้นการแข่งขัน
10.  สอนโดยไม่ยึดติดกับห้องเรียน
10.  สอนในขอบเขตของห้องเรียน
11.  มุ่งสร้างสรรค์ ประสบการณ์ใหม่ให้นักเรียน
11.  เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย
12.  มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะด้านจิตพิสัย
เท่าเทียมกัน
12.  มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการเป็นสำคัญ ละเลยความรู้สึกหรือทักษะทางด้านจิตพิสัย
13.  มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการเป็นสำคัญ
13.  ประเมินกระบวนการเล็กน้อย
ตัวอย่างของรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
§  การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)
§  การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research–based Learning)
§  การเรียนแบบโครงงาน (Project-based Learning)
§  การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น (Inquiry Instruction)
§  การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative/Collaborative Learning)
§  การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
§  การใช้เครื่องมือทางปัญญา (Cognitive Tools)
§  เทคนิคการใช้ Concept Mapping
§  เทคนิคการใช้ Learning Contracts
§  เทคนิคบทบาทสมมติ (Role Playing Model)
§  เทคนิคหมวก 6 ใบ
§  เทคนิคการเรียนการสอนแบบจิ๊กซอร์(Jigsaw)  ฯลฯ



http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=1640 กล่าวว่าการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 1.   การเรียนรู้โดยใช้ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ในทุกสาขาวิชา  ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
ได้ดีหากมีความสามารถในการอ่าน ซึ่งครูผู้สอนสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการอ่านได้
      การเรียนรู้โดยใช้ทักษะการอ่าน  มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
      1)   ขั้นเตรียมการ 
1.1     เตรียมเอกสารบทเรียนให้ผู้เรียนอ่าน   โดยให้ผู้เรียนตัดสินใจ
เลือกเองอย่างมีเหตุผล  หรือครูเป็นผู้ช่วยกำหนดกรอบเนื้อหาให้
             1.2   การตั้งคำถาม    เพื่อตอบคำถามในขณะที่อ่านเอกสารบทเรียน
  2)  ขั้นการอ่าน
2.1     การอ่านเพื่อสำรวจขั้นต้นเป็น การสำรวจเนื้อหาหลักของเอกสารบทเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบแนวทางการเรียบเรียงของผู้แต่ง
2.2     การอ่านและเชื่อมโยงความสัมพันธ์    ผู้เรียนใช้เทคนิคการอ่านแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม  และ  ใช้พื้นความรู้เดิมเชื่อมโยงกับเอกสารบทเรียน   ตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้ในข้อ 1.2
2.3     การอธิบายและทำหมายเหตุประกอบ   อาจทำคำอธิบายเพิ่มเติมลงไปในเอกสารบทเรียนนั้น  เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
3) ขั้นสรุป
3.1  การจำ  ผู้เรียนอาจใช้เค้าโครงของเรื่องและการสรุปมาเป็นเครื่องช่วยในการจำบทเรียน
3.2  การประเมิน  ผู้เรียนสามารถประเมินการทำงานของตนเอง และพิจารณาผลสัมฤทธิ์   ตามจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนด
   
             การใช้วิธีการเรียนรู้แบบนี้    อาจใช้ในลักษณะของการสอนรายบุคคลได้ โดยแยกตามระดับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน นอกจากนี้อาจใช้การเรียนเป็นทีมเพื่อให้เด็กที่ก้าวหน้าได้รวดเร็วมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เรียนที่ยังไม่ค่อยคล่อง

2.     การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้   (Constructivism)
        การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ เป็นการจัดสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการคิด  โดยสถาน-การณ์ปัญหาที่จัดให้จะทำให้เกิดความไม่สมดุล สับสนในความคิด เนื่องจากข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอหรือไม่สอดคล้องกับปัญหา/สถานการณ์ที่ได้รับ         ทำให้เกิดการพิจารณา  ไตร่ตรอง พินิจพิเคราะห์หาข้อมูลเพิ่มเติม  โดยการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้จากซึ่งและกัน นำความรู้ใหม่และความรู้เดิมมาสัมพันธ์กันจนเกิดความรู้ความคิดใหม่ แล้วนำมาเปรียบเทียบพิจารณาตรวจสอบ นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้    มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
          1)  ขั้นนำ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะรับรู้ถึงจุดมุ่งหมาย และเกิดแรงจูงใจในการเรียน
    2)   ขั้นดึงความคิด  เป็นขั้นที่ผู้เรียนแสดงออกถึงความเข้าใจเดิมที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน อาจให้ผู้เรียนอภิปรายกลุ่มหรือเขียนเพื่อแสดงความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ขั้นนี้จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา             
    3)  ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิด    เป็นขั้นตอนที่สำคัญของบทเรียน ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นย่อย คือ
3.1   ทำความกระจ่างและแลกเปลี่ยนความคิด  ผู้เรียนจะเข้าใจดีขึ้นเมื่อได้พิจารณาความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างความคิดของตนเองกับความคิดของผู้อื่น
3.2   สร้างความคิดใหม่    จากการอภิปรายและการสาธิต ผู้เรียนจะเห็น
แนวทาง รูปแบบ วิธีการที่หลากหลายในการตีความจากปรากฏการณ์ แล้วกำหนดเป็นความคิดใหม่
               3.3   ประเมินความคิดใหม่ โดยการทดลองหรือการคิดอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนควรหาแนวทางที่ดีที่สุดในการทดสอบความคิดที่เลือก        ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนอาจจะรู้สึกไม่พึงพอใจความคิดความเข้าใจที่เคยมีอยู่    เนื่องจากหลักฐานการทดลองสนับสนุนแนวความคิดใหม่มากกว่า
4)  ขั้นนำความคิดไปใช้ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนมีโอกาสใช้แนวคิดหรือความรู้ความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย
5) ขั้นทบทวน  เป็นขั้นตอนสุดท้าย  ผู้เรียนจะได้ทบทวนว่าความคิด
ความเข้าใจของตนเองได้เปลี่ยนไป     โดยการเปรียบเทียบความคิดเมื่อเริ่มต้นบทเรียนกับความคิดของตนเมื่อสิ้นสุดบทเรียน

 บทบาทของครู  ในการเรียนรู้ตามแนวทางนี้
1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจ เพื่อให้เห็นปัญหา
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่น แนะนำ ถามให้คิด เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบ หรือ สร้างความรู้ด้วยตนเอง
3. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้คิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทำงานเป็นกลุ่ม พัฒนาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างไกล
4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิด  และ  ทักษะการคิดต่าง ๆ การปฏิบัติในการแก้ปัญหา และพัฒนาการเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

   3.  การเรียนรู้โดยใช้ผังมโนภาพ
    - ผังมโนภาพเป็นการนำหลักการทางสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นการทำงานร่วมกันของสมองด้านซ้ายและด้านขวา   โดยสมองด้านซ้ายจะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์คำสัญลักษณ์   ตรรกวิทยา       ส่วนสมองด้านขวาจะทำหน้าที่ในการสังเคราะห์รูปแบบ สี รูปร่าง                                          -  ผังมโนภาพจะช่วยประหยัดเวลาในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกลุ่มเนื้อหา ใช้ประกอบกับการระดมสมองในเรื่องใหม่ ๆ  การวางแผน การสรุป  การทบทวน และการจดบันทึก                                - ผังมโนภาพมีจุดประสงค์  ใช้แทนความสัมพันธ์อันมีความหมายระหว่างมโนภาพต่าง ๆ  ผังมโนภาพควรมีลักษณะลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ไป โดยมโนภาพหลักที่มีลักษณะทั่วไปมากที่สุดหรือครอบคลุมมากที่สุดควรจะอยู่ตอนบนสุดของผัง ส่วนมโนภาพทั่วไปซึ่งครอบคลุมน้อยกว่าจะถูกจัดให้อยู่ในตอนล่าง

 การเรียนรู้โดยใช้ผังมโนภาพ    มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1)   ขั้นกิจกรรมการเตรียมตัวเพื่อสร้างผังมโนภาพ
1.1   ทำรายการคำ  2  รายการ บนกระดานดำ      โดยเป็นรายการวัตถุ
(เช่น รถยนต์ ต้นไม้ หนังสือ)   และรายการเหตุการณ์  (เช่น ฝนตก  งานเลี้ยง)   และถามว่า   รายการทั้งสองต่างกันอย่างไร  พยายามช่วยให้ผู้เรียนระลึกว่า   รายการแรกเป็นวัตถุ  ส่วนรายการหลังเป็นเหตุการณ์  แล้วให้ชื่อรายการทั้งสอง
1.2 ให้ผู้เรียนพรรณนาถึงสิ่งที่คิดถึงเมื่อได้ยินคำที่เป็นวัตถุ       เช่น
คำว่า  รถยนต์ สุนัข ฯลฯ   ให้ผู้เรียนระลึกว่า "คำเดียวกัน"  แต่บุคคลแต่ละคนอาจคิดถึงบางสิ่งที่แตกต่างกัน และภาพในจิตนี้เรียกว่า   "มโนภาพ"
1.3 ทำกิจกรรมขั้นที่ 2  ซ้ำ  แต่คราวนี้ใช้คำที่เป็น เหตุการณ์
    1.4 เขียนรายการที่เป็นคำเชื่อม เช่น  "เป็น ที่ไหน นั่น คือ"  แล้วถาม
ผู้เรียนว่า   เมื่อได้ยินคำเหล่านี้แล้วมีอะไรเข้ามาในใจบ้าง             ให้ผู้เรียนสังเกตว่าคำเหล่านี้ไม่ใช่มโนภาพ แต่เป็นคำเชื่อมที่ใช้ร่วมกับคำแสดงมโนภาพ เพื่อสร้างประโยคที่มีความหมาย
1.5  ใช้คำแสดงมโนภาพ 2 คำ และ คำเชื่อม       สร้างประโยคสั้น ๆ
2-3 ประโยค เพื่อแสดงว่า คำแสดงมโนภาพกับคำเชื่อมสื่อความหมายได้อย่างไร  เช่น สุนัขกำลังวิ่ง
มีเมฆและฟ้าร้อง
1.6 ให้ผู้เรียนสร้างประโยคสั้น ๆ  ขึ้นเอง      และให้ชี้บอกคำที่เป็น
มโนภาพ ประเภทของมโนภาพและคำเชื่อม
1.7  เตรียมเรื่องให้ผู้เรียนได้ศึกษา    โดยเลือกตอนใดตอนหนึ่งของ
หนังสือ ( ประมาณ 1 หน้า)  และทำสำเนาแจกผู้เรียน เลือกตอนที่มีสาระสำคัญชัดเจน    ให้ผู้เรียนอ่านบทตัดตอนนี้    แล้วชี้บอกมโนภาพที่สำคัญ

2) ขั้นกิจกรรมการสร้างผังมโนภาพ
2.1     เลือกย่อหน้าที่มีความหมายเป็นพิเศษ  1-2  ย่อหน้า จากหนังสือเรียนหรือหนังสืออื่น ๆ  ให้ผู้เรียนอ่าน    แล้วให้เลือกมโนภาพที่สำคัญอันได้แก่ มโนภาพต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการเข้าใจความหมายในบทอ่าน   และเขียนรายการมโนภาพเหล่านี้บนกระดานดำ อภิปรายร่วมกันว่า มโนภาพใดสำคัญที่สุด และครอบคลุมมโนภาพในบทอ่านมากที่สุด
2.2      เขียนมโนภาพที่ครอบคลุมมากที่สุดไว้เป็นหัวข้อเรื่องของรายการมโนภาพที่จัดลำดับไว้แล้ว เขียนมโนภาพที่มีลักษณะทั่วไปมาก ครอบคลุมมากถัดลงไปลงไว้ ทำเช่นนี้จนมโนภาพทั้งหมดถูกจัดเข้าลำดับตามความสำคัญ   อาจมีการไม่เห็นพ้องกันเสมอไปในการจัดลำดับ  ซึ่งอาจปล่อยไปได้เพราะเท่ากับเป็นการชี้แนะว่า การมองเห็นความหมายในบทอ่าน อาจเป็นไปได้ต่าง ๆ กัน
2.3      ให้ผู้เรียนเขียนคำแสดงมโนภาพและคำเชื่อมลงไปในกระดาษ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า    หรืออาจจัดสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ใหม่หากผู้เรียนเกิดความคิดแวบขึ้นมาว่าจะประมวลผังมโนภาพให้อยู่ในลักษณะใด
2.4      พิจารณาคำเชื่อมระหว่างมโนภาพ
2.5      ผังที่เขียนขึ้นตอนแรกอาจจะยังไม่ชัดเจนนัก อาจต้องปรับ ซึ่ง
ในขณะเดียวกันผู้เรียนก็จะเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย
2.6     ให้ผู้เรียนสร้างผังมโนภาพสำหรับแนวคิดที่สำคัญ ๆ    ในเรื่อง
ที่เกี่ยวกับบทเรียน  เรื่องงานอดิเรก  เรื่องกีฬา  หรือเรื่องอื่นที่ผู้เรียนประทับใจ  อาจนำมาติดแสดงไว้ในห้องเรียน

4.  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   (Participatory  Learning)
     การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นการนำหลักการเรียนรู้เชิงประสบการณ์กับการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม  ไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ
     หลักการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   คือ  กระบวนการสร้างความรู้โดยผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เอง    เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน      ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง    ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้อง    เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม     มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง  ก่อให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง  มีการแสดงออกทั้งการเขียนและการพูด

   การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม     มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1) ขั้นประสบการณ์ ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมของตน
มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ หรือ พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2) ขั้นการสะท้อนความคิดและอภิปราย   จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มี
โอกาสแสดงออกในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็นระบบกลุ่ม
    3) ขั้นความคิดรวบยอด  ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความคิดรวบยอดจาก
ผลงานของกลุ่ม ซึ่งอาจเกิดโดยผู้เรียนเป็นฝ่ายริเริ่มแล้วครูเพิ่มเติมให้
   4)  ขั้นการทดลองหรือประยุกต์แนวคิด     ผู้เรียนนำเอาการเรียนรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง หรือ เงื่อนไขอื่นๆ จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติของผู้เรียนเอง


5.  การเรียนรู้แบบร่วมมือ    ( Cooperative  Learning ) การเรียนรู้แบบร่วมมือ  เป็นการจัดสถานการณ์และบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีลักษณะแตกต่างกันในด้านสติปัญญาหรือความถนัด สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของตนเองและของสมาชิกในกลุ่ม  รับผิดชอบในความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ความสำเร็จของกลุ่มพิจารณาจากความสำเร็จในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน  การเรียนรู้แบบร่วมมือจะพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม
      
          ลักษณะสำคัญของการเรียนแบบร่วมมือ  คือ   ผู้เรียนที่เรียนดีจะได้รับการปลูกฝังให้มีความเสียสละในการดูแลรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ไม่เห็นแก่ตนเอง     ส่วนผู้เรียนที่เรียนอ่อนจะได้รับการดูแลจากสมาชิกในกลุ่มจนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น       ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเป็นลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันในสังคม

         การเรียนแบบร่วมมือมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่นิยมใช้กันมาก มี 3 รูปแบบ คือ
1.       STAD  (Student  team -  achievement  devisions )      เป็นการสอนที่
เริ่มต้นโดยการที่ครูให้ความรู้ ต่อจากนั้นแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน เปรียบเทียบคำตอบ อธิบายวิธีการเรียน  ฝึกหัดซึ่งกันและกัน แต่ในช่วงการทดสอบนั้น จะให้ทำเป็นรายบุคคลในตอนท้าย  จึงมีการคำนวณคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม
2.       Jigsaw   เป็นการจัดให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน   กลุ่มละ 5 - 6 คน
เรียนรู้ร่วมกัน  โดยผู้สอนแบ่งบทเรียนเป็นเรื่องย่อย ๆ เมื่อได้รับมอบหมายผู้เรียนในกลุ่มจะแบ่งภารกิจไปศึกษาเรื่องย่อยและนำผลการศึกษามารายงานต่อกลุ่ม                                                            
             3.    Co - op  co - op    เป็นการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันในกลุ่ม และได้ร่วมมือระหว่างกลุ่ม    เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของห้องเรียนร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องจัดให้มีการแบ่งบทเรียนเป็นหัวเรื่องหลัก มอบให้แต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษา ต่อจากนั้นในแต่ละกลุ่มจะมีการมอบหมายภารกิจให้ศึกษาหัวเรื่องย่อย ๆ เพื่อนำมาสรุปร่วมกันแบบ  Jigsaw

          การเรียนรู้แบบร่วมมือ    มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1)  ขั้นเตรียม            เป็นขั้นที่ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ
ประมาณ  2- 6 คน  โดยคละผู้เรียนในกลุ่มให้แตกต่างกันในด้านสติปัญญา ความถนัด และภูมิหลัง แล้วครูอธิบายวิธีการเรียน และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
          2)   ขั้นสอน        เป็นขั้นที่ครูนำเข้าสู่บทเรียน สอนเนื้อหาหรือแนะนำ
เนื้อหา  แหล่งข้อมูล และมอบหมายงานให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
                3)  ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม  เป็นขั้นที่ผู้เรียนฝึกทักษะการเรียนรู้ร่วมกัน
หรือผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อยโดยแต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ร่วมกันรับผิดชอบในผลงานของตนเองและผลงานของกลุ่ม
4)  ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ    เป็นขั้นตรวจสอบการทำงานของ
กลุ่มว่า ผู้เรียนได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง  ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร เน้นการตรวจผลงานกลุ่มและผลงานรายบุคคล   ในบางกรณีผู้เรียนอาจต้องซ่อมเสริมสิ่งที่ยังต้องปรับปรุง แล้วจึงทำการทดสอบ
5)  ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่ม        เป็นขั้นที่ครู
และผู้เรียนช่วยกันสรุปบทเรียน  ในขั้นนี้ครูให้ความรู้ที่จำเป็นเพิ่มเติม     แล้วจึงร่วมกันประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่ม ให้การเสริมแรงโดยการชมเชย   หรือมอบรางวัลกลุ่มที่ทำคะแนนได้ตามเกณฑ์ และการให้กำลังใจกับสมาชิกในกลุ่มที่ยังไม่สามารถทำงานผ่านเกณฑ์ได้
              
6.   การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม   ( Group  Process )
      กระบวนการกลุ่ม เป็นการจัดสถานการณ์การเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้มีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีแนวคิดการกระทำและแรงจูงใจร่วมกัน       แบ่งหน้าที่ช่วยเหลือกันและกันในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง    การทำงานเป็นกลุ่มที่ดีจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าผลรวมของประสิทธิภาพ
       หลักการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม จะให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด   ฝึกให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ได้ กระบวนการกลุ่มเป็นการเรียนรู้ที่ยึดหลักการค้นพบและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง   โดยครูเป็นเพียงผู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบและพบคำตอบด้วยตัวเอง

     การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มมีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
    1)  ขั้นนำ         เป็นการสร้างบรรยากาศและสมาธิของผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนการสอน การจัดสถานที่ การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย แนะนำวิธีดำเนินการ-สอน กติกา กฎเกณฑ์การทำงาน ระยะเวลาในการทำงาน
    2) ขั้นสอน  ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ   เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง  โดยที่กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องในบทเรียน   เช่น    กิจกรรมเกมและเพลง    บทบาทสมมติ      สถานการณ์จำลอง การอภิปรายกลุ่ม  เป็นต้น
3)  ขั้นวิเคราะห์  ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ความสัมพันธ์ในกลุ่ม  ตลอดจนความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน  โดยวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับจากความรู้สึกและการรับรู้ของผู้เรียน แสดงข้อคิดที่ได้จากการทำงานกลุ่มให้คนอื่นได้รับรู้ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ของกันและกัน
4)  ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้   ให้ผู้เรียนสรุป รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่ โดยครูกระตุ้นให้แนวทางและหาข้อสรุป   จากนั้นนำข้อสรุปที่ค้นพบจากเนื้อหาวิชาที่เรียน   ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตนเองและปรับปรุงตนเอง   ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคนอื่น   ประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา และ สร้างสรรค์สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม  ชุมชน  และ     การดำรงชีวิตประจำวัน
    5)  ขั้นประเมินผล   เป็นการประเมินผลการเรียนว่า ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด  โดยจะประเมินทั้งด้านเนื้อหาวิชาและด้านกลุ่มสัมพันธ์

 7.     การเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ
    การใช้บทบาทสมมติ    เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดสถานการณ์สมมติและบทบาทของผู้เรียนในสถานการณ์นั้น แล้วให้ผู้เรียนสมบทบาทและแสดงบทบาทนั้นตามความรู้สึก ประสบการณ์ เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทบาทนั้น    วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษา วิเคราะห์ซึ่งความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองอย่างลึกซึ้ง   การเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมตินี้จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในความคิด ความรู้สึกของผู้อื่น   รวมทั้งเป็นวิธีการที่ช่วยฝึกทักษะแก้ปัญหาต่าง ๆ    วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้สอนเกี่ยวกับความเข้าใจระหว่างบุคคลและทักษะทางสังคม เนื่อง-จากการเรียนรู้ดังกล่าวใช้เวลามากจึงต้องวางแผนการใช้เวลาอย่างรัดกุม มีการเน้นความคิดรวบยอดของบทบาท และชี้ให้เห็นว่าบทบาทหนึ่งสามารถแสดงได้หลายแนวทาง

    การเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ      มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1) ขั้นการอุ่นเครื่อง  เป็นการทำให้ผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับปัญหาและเป็นการกระตุ้นความต้องการของผู้เรียนในการเรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา
    2)  ขั้นการเลือกตัวผู้แสดง   ครูควรเสนอแนะการเลือกบุคคลที่เห็นว่า
เหมาะสมกับบทบาท
3) ขั้นการจัดฉาก  ผู้แสดงบทบาทสมมติควรร่วมกันวางแผนหรือตัดสินใจว่าจะแสดงบทบาทนั้นอย่างไร  ครูอาจช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวางแผนการแสดงให้เป็นไปตามธรรมชาติ
4) ขั้นการเตรียมผู้สังเกตการณ์    เป็นขั้นการเป็นผู้ฟังที่ดี โดยการรับฟัง
คำชี้แนะจากผู้อื่น แล้วนำไปปรับปรุงพัฒนาบทบาทที่จะแสดง
    5) ขั้นการแสดงบทบาทสมมติ   เป็นการแสดงบทบาทตามที่วางแผนไว้
6) ขั้นการอภิปรายและการประเมินผล    เป็นขั้นการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการในการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหา
7) ขั้นการแสดงซ้ำหรือการแสดงเพิ่มเติม   เปิดโอกาสให้มีการแสดงหลายครั้ง     ยิ่งมีการแสดงสลับกับการอภิปรายจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างลึกซึ้งและมีข้อสรุปเป็นของตนเอง
8) ขั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการสรุปหลักการ     นับเป็นขั้น
สุดท้ายเป็นการอภิปรายโดยทั่วไป        ซึ่งอาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และอาจจะเป็นการสรุปหลักการ

 8.     การเรียนรู้โดยโครงงาน
         การเรียนรู้โดยโครงงาน   เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เลือกและสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างลุ่มลึกด้วยตนเอง และใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา    รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ รู้จักการวางแผนการทำงาน  ฝึกการคิดวิเคราะห์และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
         ในการทำงานโครงานแต่ละโครงงานจะต้องรู้ว่าทำโครงงานประเภทใดก่อนจึงจะวางแผนการเรียนรู้ได้ถูกต้อง   โครงงานที่สำคัญแก่การเรียนรู้ของผู้เรียนมี 4 ลักษณะ  คือ โครงงานประเภททดลอง  โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ โครงงานประเภทสำรวจข้อมูล  และ โครงงานประเภททฤษฎีต่าง ๆ

การเรียนรู้โดยโครงงาน มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1)    ขั้นเริ่มต้นโครงงาน   การเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานหรือปัญหาที่ศึกษา   จะต้องมาจากตัวผู้เรียนเอง
2)  ขั้นการทำโครงงาน
    2.1  การกำหนดวัตถุประสงค์
        2.2   การระบุประโยชน์
        2.3   การหาแนวโน้ม หรือ การเดาคำตอบ (สมติฐาน)
        2.4   การกำหนดวิธีการศึกษาที่หลากหลาย
        2.5   การลงมือศึกษา
        2.6   การเก็บรวบรวมผลที่ได้จากการศึกษา
3) ขั้นการเสนอผลการศึกษา
    3.1  การสรุปผล
    3.2 การเสนอผลการศึกษา
    3.3  การเผยแพร่
4) ขั้นการพัฒนาโครงงาน

9. การเรียนรู้โดยการศึกษานอกสถานที่
      การเรียนรู้โดยการศึกษานอกสถานที่        เป็นการให้ผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้จาก
แหล่งวิทยาการต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนรู้จากบุคลากร สถานที่ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  เช่น  สิ่งที่เป็นมรดกท้องถิ่น มรดกชาติ และมรดกโลก เป็นต้น
      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งความรู้ที่อยู่นอกห้อง-เรียน จะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ตื่นเต้น น่าสนใจ และ  เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ วิธีการหาความรู้ และเป็นการพัฒนาคุณธรรม คุณนิสัยให้แก่ผู้เรียน อีกด้วย
การเรียนรู้โดยการศึกษานอกสถานที่      มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1)  ขั้นเตรียมการ  การเตรียมการในการออกไปศึกษานอกสถานที่เป็นบทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอน โดย
1.1  ติดต่อและแจ้งเจ้าของสถานที่ที่จะไปศึกษา    แจ้งถึงเรื่องจุดประสงค์ จำนวนผู้เรียน วันเวลาที่จะไป
1.2   ติดต่อวิทยากรที่จะให้ช่วยพาชม บรรยายสรุป หรือตอบคำถาม
1.3    ศึกษา สำรวจสิ่งที่จะให้ผู้เรียนไปศึกษาล่วงหน้าตลอดจนสำรวจเส้นทางในการเดินทาง และวางแผนการเดินทาง
1.4  เตรียมผู้เรียนให้พร้อมในเรื่องที่จะไปศึกษา     หัวข้อหรือประเด็นการศึกษา  การแบ่งหน้าที่ของผู้เรียน  เตรียมตัวเดินทาง และย้ำเตรียมในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง
2)   ขั้นดำเนินการศึกษานอกสถานที่      เป็นบทบาทของผู้เรียน โดยครูเป็นเพียงผู้สังเกตการเรียนรู้ และให้คำแนะนำประกอบ
2.1         ผู้เรียนวางแผนการทำงาน
2.2         การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามวัตถุประสงค์
2.3         การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือกลุ่ม
3)  ขั้นสรุปและประเมินผล       เป็นบทบาทของนักเรียน    เมื่อสิ้นสุด
กระบวนการออกไปศึกษานอกสถานที่แล้ว  ผู้เรียนควรสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ ดังนี้
3.1  ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากการไปศึกษานอกสถานที่
3.2   ความประพฤติหรือพฤติกรรมต่าง ๆ  ของผู้เรียนที่ควรปรับปรุงแก้ไข
3.3  ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ และข้อเสนอแนะ
             
  10.  การเรียนรู้โดยวิธีกรณีศึกษา   ( Case  Study )
              การเรียนรู้โดยวิธีกรณีศึกษา  เป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้กรณีหรือเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรือ สถานการณ์ปัญหาที่สร้างขึ้น      โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาศึกษา วิเคราะห์ อภิปราย  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  มีการแสวงหาความรู้อย่างหลากหลาย มีการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ หรือ สร้างความรู้ให้กว้างขวาง  และนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

การเรียนรู้โดยวิธีกรณีศึกษา      มีขั้นตอนและองค์ประกอบ ดังนี้
1) ขั้นการเลือกเรื่องที่จะศึกษา     เป็นขั้นที่ครูผู้สอนอาจจัดกิจกรรมหรือสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในสภาพปัญหาหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพื่อกำหนดเรื่องที่จะศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้ความสนใจ  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ เกิดความก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลงขึ้นในตัวผู้เรียน
2) ขั้นการสร้างประสบการณ์เดิม   เป็นขั้นการเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเข้ากับกรณีศึกษา ซึ่งอาจใช้วิธีการสนทนาตอบคำถาม เล่าเรื่องเกี่ยวกับปัญหา หรือสาเหตุของกรณีศึกษานั้น
3) ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ เป็นขั้นการนำความรู้เดิมที่เกี่ยวกับ
กรณีศึกษามาวิเคราะห์ตั้งประเด็นคำถาม  เพื่อค้นหาความรู้หรือแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา
4) ขั้นการเก็บรวมรวมข้อมูล   เป็นขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ  เช่น  การสังเกต การสัมภาษณ์ การสำรวจ ฯลฯ  เพื่อให้ได้คำตอบของประเด็นปัญหา หรือแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
5) ขั้นการวิเคราะห์สรุปและรายงานผล   เป็นขั้นการนำข้อมูลที่ได้มา
วิเคราะห์ อภิปราย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้เรียน
6) ขั้นการนำไปใช้   เป็นขั้นการนำผลที่ได้จากการศึกษามาสร้างเป็น
ความรู้ใหม่หรือข้อกำหนดการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันของผู้เรียน

     ยาเบ็น เรืองจรูญศรี (http://www.kroobannok.com/blog/39847) กล่าววว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวคิดมาจากแนวคิดของ จอห์น  ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของการเรียนรู้โดยการกระทำ หรือ learning by doing ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ โดยเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับมาเป็น ผู้เรียน”  และ บทบาทของ ครูเป็น ผู้ถ่ายทอดข้อมูล มาเป็น ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้”  ให้ผู้เรียนได้ปรับบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
          ชนาธิป พรกุล (2543; 50) ได้ให้ความหมายว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปเป็นความรู้โดยตัวผู้เรียนเอง ผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการถ่ายทอดความรู้มาเป็นผู้วางแผน จัดการ ชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงหมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทิศนา แขมมณี (2548 : 120 ) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียรู้ต่างๆ อันจะนำผู้เรียนไปสูการเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

สำลี รักสุทธี (2544 : 1) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามมาตรา 22-24 โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ กิจกรรมทางการศึกษา ลงมือปฏิบัติจริง ครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้บอกให้ความรู้อย่างเดียว เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก คอยช่วยเหลือแนะนำ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียน

บรรพต สุวรรณประเสริฐ (2544 : 5) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดหมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการประเมินผลที่มุ่งพัฒนา คนและ ชีวิตให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ (2542 : 35) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉงเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นวิธีการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียน ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 4) กล่าวว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือ การจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่

วชิราพร อัจฉริยโกศล (2548) กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการสำรวจสิ่งที่ศึกษาในด้านที่สนใจ ผลักดันให้หาคำตอบ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้าใจจากผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ซึ่งก็คือผู้สอนนั่นเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบทั้งตัวบุคคล รวมทั้งสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 79) กล่าวว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนรวมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้โดยครูเป็นผู้วางแผนร่วมกับผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กระตุ้น ท้าทาย ให้กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาหรือชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

จากแนวความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
 
อาจสรุปการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ดังนี้
  การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการ คิดริเริ่ม แสวงหา วิเคราะห์ จัดการความรู้ และลงมีปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเองตามความต้องการและความสนใจ  และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
  
  การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.   การเรียนรู้โดยใช้ทักษะการอ่าน                                                                                           
2.   การเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้   (Constructivism)                                                                 
3.   การเรียนรู้โดยใช้ผังมโนภาพ                                                                                                    
4.   การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม   (Participatory  Learning)                                                                     
5.   การเรียนรู้แบบร่วมมือ    ( Cooperative  Learning )                                                                  
6.   การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม   ( Group  Process )                                                    
7.   การเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ                                                                                           
8.   การเรียนรู้โดยโครงงาน                                                                                                                          9.   การเรียนรู้โดยการศึกษานอกสถานที่                                                 
10.  การเรียนรู้โดยวิธีกรณีศึกษา   ( Case  Study )

สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.       Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
2.       Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
3.       Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)
4.       Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
5.       Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
6.       Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
7.       Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
8.       Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
9.       Self Evaluation เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย

บทบาทของครูผู้สอน
บทบาทของครูผู้สอนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะไม่เป็นผู้ชี้นำหรือผู้ออกคำสั่งแต่จะเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้น ผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ติดตามตรวจสอบ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น แหล่งข้อมูล เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เว็บไซด์ อีเมล์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง

อ้างอิง
http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
        สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558.
http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=1640. การเรียนการสอนที่เน้น
        ผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558.
ยาเบ็น เรืองจรูญศรี. (online).http://www.kroobannok.com/blog/39847. การเรียนการสอนที่เน้น
        ผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น