วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้


        พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา (2542:79) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้มีความสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต   การเรียนรู้จะทำให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม
     
          วารินทร์   สายโอบเอื้อ (2529:41) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์   โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ตลอดชีวิตคนเรานั้นมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย  เช่น เรียนรู้วิธีการเเก้ปํญหา   เวลาหิว  เวลาหนาว  เวลาเจ็บป่วย  เรียนรู้นิสัยต่างๆ ในการดำรงชีวิต  เรียนรู้ในการที่จะติดต่อกับบุคคลอื่น  การทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้ในห้องเรียน  เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันของสามีภรยา  เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้
        
          เมธาวี  เวียงเกตุ (2539:103) ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีความสำคํญ  คือ การเรียนรู้ของสัตว์และมนุษย์ก่อให้เกิดความรู้เป็นหลักการ  ทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ทั้งในด้านการเรียนรู้ของระบบโรงเรียน เเละการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน บุคคลที่ปรับตัวได้ดีและมีชีวิตที่เป็นสุขย่อมมีพื้นฐานมาจากกการน้อมใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ  แล้วสรุปประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการเรียนรู้  ข้อคิด  นำไปประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป
           
          สรุปความสำคัญของการเรียนรู้ ได้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต  ช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  หรือสามารถปรับสิ่งเเวดล้อมให้เข้ากับเราได้อย่างเหมาะสม 
     

       อ้างอิง
          พงษ์พันธ์  พงษ์โสภา.  (2542).  จิตวิทยาการศึกษา.  กรุงเทพ : พัฒนาศึกษา.
          วารินทร์   สายโอบเอื้อ.  (2529).  จิตวิทยาการศึกษา.  กรุงเทพ : ห้างหุ่นส่วนจำกัด เทียนเจริญพานิช.
           เมธาวี เวียงเกตุ.  (2539).  จิตวิทยาทั่วไป.  ม.ป.ท. : ม.ป.ท.


วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายการเรียนรู้

                                            
      ปรียาพร  วงศ์อนุตโรจน์ (2548:32) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากพฤติกรรมเดิมไปพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรเป็นผลที่ได้จากประสบการณ์   โดยไม่ใช่ผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติโดยบังเอิญ เป็นการเปลี่ยนปลงในด้านความรู้  ความรู้สึกและทักษะ
      
       มาลี  จุฑา (2542:55) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา
     
       องุ่น  จันทร์ขจร (ม.ป.ป.:23) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งสิ่งมีชีวิตทุกอย่างสามารถทำได้ เช่นสัตว์หลายชนิด รวมทั้งมนุษย์ยกเว้นพวกพืช  การเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีส่วนทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรวดเร็วในวิถีทางที่มั่นคง
       
       ดังนั้นอาจสรุปความหมายของการเรียนรู้ได้ว่า  การเรียนรู้เป็นกระบวนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ  ยกเว้นพืช  อันเนื่องจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา   ไม่ใช่ผลการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

 อ้างอิง
 ปรียาพร  วศ์อนุตโรจน์.  (2548).  จิตวิทยาการศึกษา.  ม.ป.ท. บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.                      
 มาลี  จุฑา.  (2542).  จิตวิทยาการเรียนการสอน.  พิมพ์ครั้งที่4.  ม.ป.ท. โรงพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์.
   องุ่น  จันทร์ขจร  (ม.ป.ป.).  สารัตถะสำคัญของการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน.  กรุงเทพมหานคร วัฒนาพา                   นิช จำกัด.